ตัวอย่างโครงงาน เรื่อง 3 เกลอพิทักษ์โลก
ความเป็นมาของโครงงานปัจจุบันภาวะโลกร้อน และปัญหาสิ่งเเวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญมาก นักวิชาการจากหลายประเทศได้คิดวิธีการแก้ไขแต่ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะการกระทำของมนุษย์ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมโดยตรง อีกทั้งมนุษย์ยังขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม ทางผู้จัดทำเล็งเห็นว่าควรที่จะปลูกฝังจิตสำนึกโดยที่เริ่มปลูกฝังจากเด็กเเละเยาวชนเพราะเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ โดยผ่านเกมคอมพิวเตอร์ซึ่งง่ายต่อการสื่อสารกับเด็กเเละเยาวชน เราจึงนำมาบูรณาการกับเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้สนุกเเละได้ความรู้ไปพร้อมกัน เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อมพร้อมกับได้รับความสนุกสนานควบคู่กันไป คือ “เรียนให้สนุก และเล่นให้ได้ความรู้” และ “บูรณาการเรียนและเล่นเป็นหนึ่งเดียว
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
เพื่อสร้างและพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เรื่อง 3 เกลอพิทักษ์โลก เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รักสิ่งเเวดล้อมและเข้าใจปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการเเก้ไขปัญหา เพื่อศึกษาผลการใช้เกม 3 เกลอพิทักษ์โลก
ขอบเขตของการดำเนินการ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และนักเรียนที่สนใจ
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์
- โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม- โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน โครงงานประยุกต์ใช้งานเป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน
- โครงงานพัฒนาเกม โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้หรือเพื่อความ เพลิดเพลิน เกมที่พัฒนาควรจะเป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ
- โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือช่วย สร้างงานประยุกต์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน และซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่างๆ เป็นต้น
- โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการ จำลองการทดลองของสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นงานที่ไม่สามารถทดลองด้วยสถานการณ์จริงได้ เช่น การจุดระเบิด เป็นต้น และเป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
ข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม KODU
KODU เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเกมแบบง่ายๆ ที่เหมาะสาหรับเด็กๆ รวมไปถึงผู้ใหญ่ที่อยากจะสร้างเกมของตนเองขึ้นมา ซึ่งแต่เดิมนั้น KODU Game Lab นั้น จะมีเฉพาะบนเครื่องเล่นเกม Xbox ของไมโครซอฟท์เท่านั้นแต่ว่าวันนี้ไมโครซอฟท์ได้นาโปรแกรมเดียวกันนี้มาลงสู่เครื่องพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยทาให้ผู้ใช้พีซีอย่างเรามีโอกาสเป็นนักพัฒนาเกมมือสมัครเล่นกับเขาได้บ้าง การสร้างเกมของ KODU Game Lab นั้นเป็นลักษณะของการใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วในการกำหนดฉาก ตัวละครรูปแบบวิธีการเล่นซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่ายและมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากอย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นเครื่องมือง่ายๆในการพัฒนาเกมแต่ก็สามารถที่จะทาการสร้างเกมในแบบมีผู้เล่นหลายคนสามารถกำหนดให้ใช้เมาส์ คีย์บอร์ด หรือจอยแพดแบบ Xbox ได้อีกด้วยแต่ต้องบอกก่อนว่าตอนนี้ KODU Game Lab นั้นยังเป็นแค่ตัว Technical Preview เท่านั้น ยังไม่ใช่เวอร์ชันเต็มแต่ก็สามารถใช้สร้างและลองเล่นเกมตัวอย่างที่ให้มาได้
กระบวนการเรียนรู้แบบเพลิน
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้แบบเพลิน ต้องดำเนินการดังนี้
1. ครูต้องหยุดการสอนแบบตะลุมบอลล์ ลุยสอนๆๆๆ ละวางจากการสอนแบบ “อัด” “ยัดเยียด” “เร่งความเร็ว”2. ครูต้องคิดใหม่ทำใหม่ คิดใหม่อย่างสร้างสรรค์เข้าหาสายกลาง ลองหาวิธีการใหม่ๆ ให้เปลี่ยนแนวคิดทัศนคติใหม่ หนีความเคยชินต่างๆ ที่เร่งสอนให้ทันหลักสูตร
3. ครูต้องออกแบบการเรียนการสอนใหม่ เอาวัตถุประสงค์ที่จะให้เด็กเรียนรู้เป็นตัวตั้ง เอา พฤติกรรมศิษย์เป็นตัวตั้ง และออกแบบวิธีการสอนใหม่ เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้เองแบบธรรมชาติ
4. เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีโอกาสพูดกับครูเพื่อค้นหาแนวร่วม (Learning Participation) วิธีการเรียนรู้ด้วยกัน ว่าจะเรียนแบบไหนดีจึงจะสนุก ครูจะสอนแบบไหนดีจึงจะสนุก
5. ต่างฝ่ายต่างสังเกตกันว่า อากัปกิริยา การเรียน การเล่น ว่าเพลิดเพลินหรือเปล่า มีอาการเซ็งๆ หรือไม่ ถ้ามีจะแก้ไขอย่างไร ต้องทบทวนวิธีการใหม่ ใช้เวลามากไป หรือน้อยไปเนื้อหาน้อยไป ค้นหาความสมดุลพอดี
6. ในเบื้องต้นอาจใช้วิธีการเรียนแบบแยกส่วน ครึ่งชั่วโมงเรียนจากการฟัง อีกครึ่งชั่วโมงเป็นเล่นตามที่เรียน
7. หากชำนาญ ก็จะรวมกระบวนการเรียนและเล่นเป็นหนึ่งเดียว แบบบูรณาการ
วิธีดำเนินการ
กระบวนการและขั้นตอนการทำโครงงาน
ดำเนินการจัดทำโครงงานตามแนวทางการพัฒนาคอมพิวเตอร์ 6 ขั้นตอน ดังนี้
3.2.1 การเลือกหัวข้อโครงงาน
ซอฟแวร์เกมคอมพิวเตอร์ เรื่อง 3 เกลอพิทักษ์โลก “ดิน” “น้ำ” “ลม” แต่ละคนมีหน้าที่แก้ปัญหามลภาวะที่แตกต่างกันไป คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมบนบก ในน้ำและทางอากาศ
สามเกลอหุ่นยนต์เพื่อนรักผู้มาจากโลกอนาคตที่โลกทั้งโลกไม่เหลือความเขียวขจีอยู่อีกแล้ว เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทั้งสามคนจึงได้ย้อนเวลากลับมาเพื่อแก้ไข ปลูกฝังจิตสำนึก เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อให้มนุษย์รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อม จัดทำขึ้นเพื่อนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และนักเรียนที่สนใจ
3.2.2 การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
ได้ศึกษาการใช้โปรแกรม KODU Game Lab ข้อมูลปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพปัญหา
สิ่งแวดล้อม และกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.2.3 การจัดทำข้อเสนอโครงงาน
จัดทำข้อเสนอโครงงานให้กับครูที่ปรึกษา
3.2.4 การจัดทำโครงงาน โดยใช้ 4 ขั้นตอนของการแก้ปัญหา ดังนี้
3.2.4.1 การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา โดย
กำหนดตัวละครหลัก
ดิน น้ำ ลม สามเกลอหุ่นยนต์เพื่อนรักผู้มาจากโลกอนาคต
กำหนดเค้าโครงเรื่อง
ดิน น้ำ ลม สามเกลอหุ่นยนต์เพื่อนรักผู้มาจากโลกอนาคตที่ไม่เหลือความเขียวขจีอยู่อีกแล้ว เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทั้งสามคนจึงได้ย้อนเวลากลับมาเพื่อแก้ไขอดีต ปลูกฝังจิตสำนึก เกี่ยวกับความตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อให้กับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ให้มนุษย์รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อม โดยผ่านเกม 3 เกลอพิทักษ์โลกผ่านเกมย่อยๆดังนี้
1. เกม “ดิน” “น้ำ” “ลม”
2. เกมตามรอยพระราชดำริ
3. เกมเศรษฐกิจพอเพียง
4. เกมฮีโร่เต่ากู้โลก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. เกม Hello Asian
3.2.4.2การออกแบบและการเลือกเครื่องมือ
ออกแบบโปรแกรมตามรายละเอียดเงื่อนไขการผ่านด่านและเลือกใช้โปรแกรม KODU Game Lab ในการสร้างและพัฒนาเกม
3.2.4.3 การดำเนินการ
ดำเนินการเขียนเกมโดยใช้โปรแกรม KODU Game Lab ตามเค้าโครงเรื่องย่อของเกม เงื่อนไขการผ่านด่าน ที่ได้ออกแบบไว้ นำผลงานเกมที่ได้สร้างเสร็จเรียบร้อย upload ไปที่ Google Drive https://drive.google.com/folderview?id=0B__NJQ_DPgU5d091cHcyQVQyUWc&usp=sharing
3.2.4.4การทดสอบและปรับปรุงตัวเกม
ในส่วนการทดสอบและปรับปรุงตัวเกมแต่ละเกม ได้สาธิตให้เพื่อนๆ รุ่นน้อง รุ่นพี่ เพื่อน โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา และครูที่ปรึกษา ทดสอบการใช้งานและให้ข้อเสนอแนะ โดยการให้ทดสอบการเล่นเกม และเสนอแนะข้อที่ควรแก้ไข เมื่อได้รับคำแนะนำก็ได้ทำการแก้ไขจนสำเร็จ เพื่อสอบถามข้อควรทราบและข้อที่ควรแก้ไข เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงตัวเกมให้ดียิ่งๆขึ้นไป
3.2.5 การเขียนรายงานได้จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม
จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม จัดทำ PowerPoint เพื่อใช้ในการนำเสนอโครงงาน
3.2.6 การนำเสนอและแสดงผลงานของโครงงานและนำไปใช้
จัดทำ Facebook เกม 3 เกลอพิทักษ์โลก https://www.facebook.com/3friendloveearth
และเว็บไซต์ http://3friendloveearth.blogspot.com/ เพื่อเผยแพร่กิจกรรมและให้บริการดาวโหลดโปรแกรม จัดทำ เว็บไซต์ http://3friendloveearth.blogspot.com เพื่อแนะนำวิธีใช้และเผยแพร่ข้อมุลต่างๆ และ ดาวโหลดเกมไปใช้ นำเสนอผลงานที่ศูนย์คอมพิวเตอร์โรงเรียน
สุราษฎร์พิทยา และนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และตอบแบบประเมินผลการใช้งานโครงงานเกม 3 เกลอ พิทักษ์โลก นำเสนอในวันแข่งขันทักษะงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับสหวิทยาเขต วันที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556
ณ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2
ผลการดำเนินการ
จากการดำเนินการจัดทำโครงงานเกม 3 เกลอพิทักษ์โลก โดยใช้ 6 ขั้นตอนของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ผลการดำเนินการดังนี้ ดิน น้ำ ลม สามเกลอหุ่นยนต์เพื่อนรักผู้มาจากโลกอนาคตที่ไม่เหลือความเขียวขจีอยู่อีกแล้ว เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทั้งสามคนจึงได้ย้อนเวลากลับมาเพื่อแก้ไขอดีต ปลูกฝังจิตสำนึก เกี่ยวกับความตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อให้กับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ให้มนุษย์รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อม โดยผ่านเกม 3 เกลอพิทักษ์โลกผ่านเกมย่อยๆดังนี้
1. เกม “ดิน” “น้ำ” “ลม”
2. เกมตามรอยพระราชดำริ
3. เกมเศรษฐกิจพอเพียง
4. เกมฮีโร่เต่ากู้โลก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. เกม Hello Asian
สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
สรุปผล
จากการดำเนินการจัดทำโครงงาน 3 เกลอพิทักษ์โลก ดิน น้ำ ลม สามเกลอหุ่นยนต์เพื่อนรักผู้มาจากโลกอนาคตที่ไม่เหลือความเขียวขจีอยู่อีกแล้ว เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ทั้งสามคนจึงได้ย้อนเวลากลับมาเพื่อแก้ไขอดีต ปลูกฝังจิตสำนึก เกี่ยวกับความตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อให้กับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ให้มนุษย์รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อม โดยผ่านเกม 3 เกลอพิทักษ์โลกผ่านเกมย่อยๆดังนี้
1. เกม “ดิน” “น้ำ” “ลม”
2. เกมตามรอยพระราชดำริ
3. เกมเศรษฐกิจพอเพียง
4. เกมฮีโร่เต่ากู้โลก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. เกม Hello Asian
ผลการประเมินโครงงาน 3 เกลอพิทักษ์โลกอยู่ในระดับมาก เกือบทุกรายการผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีระดับมากที่สุด 2 รายการคือ ให้ความสนุกสนาน ลำดับที่ 1 มีระดับการเล่นจากง่ายไปยาก ลำดับที่ 2 ตัวละคร ฉาก ระดับมาก คือ ตัวละคร ฉาก และเสียงประกอบของเกมน่าสนใจ ใช้งานง่ายและสะดวก ความสวยงามของเกม สามารถบันทึกและเลือกเล่นเกมต่อจากเดิมได้ มีการให้บริการข่าวสารผ่านเว็บไซต์ มีคำแนะนำการใช้งาน ให้ความรู้เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน ให้รู้ถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม มีสถานการณ์ให้ผู้เล่นเกมได้ฝึกการแก้ปัญหา มีการสอดแทรกความรู้ระหว่างการเล่นเกม ตามลำดับ
ผลการประเมินด้านการออกแบบ เป็นลำดับ 1 การใช้งาน เป็นลำดับ 2 และประโยชน์ของเกม เป็นลำดับ 3
อภิปรายผล
จากการดำเนินการจัดทำโครงงาน 3 เกลอพิทักษ์โลก เพื่อสร้างและพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เรื่อง 3 เกลอพิทักษ์โลก เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้รักสิ่งเเวดล้อมและเข้าใจปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการเเก้ไขปัญหาโดยผ่านเกม3เกลอพิทักษ์โลกโดยผ่านเกมย่อยๆดังนี้
เกม “ดิน” “น้ำ” “ลม” เกมตามรอยพระราชดำริ เกมเศรษฐกิจพอเพียง เกมฮีโร่เต่ากู้โลก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกม Hello Asian ซึ่งในแต่ละเกมเน้นการสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ที่เล่นเกมและการฝึกทักษะการแก้ปัญหา โดยแต่ละเกมมีลักษณะแตกต่างกันในระดับความยากและซับซ้อน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเล่นเกมได้ตามความสนใจ
ผลการประเมินโครงงาน 3 เกลอพิทักษ์โลกอยู่ในระดับมาก เกือบทุกรายการผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีระดับมากที่สุด 2 รายการคือ ให้ความสนุกสนาน ลำดับที่ 1 มีระดับการเล่นจากง่ายไปยาก ลำดับที่ 2 ตัวละคร ฉาก ทำให้นักเรียนมีความสนุกสนานในการเรียนรู้ สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน ตรงกับเป้าหมายของการทำโครงงานนี้คือ คือ เรียนให้สนุก เล่นให้ได้ความรู้ บูรณาการการเรียนและเล่นเป็นหนึ่งเดียว
เอกสารอ้างอิง
วันวิสา ดาดี, 2553, ทฤษฎี Game Based Learning [online]. เข้าถึงได้จาก :
http://nuybeam.blogspot.com/2010/08/game-based-learning.html:
วันที่ 2 ตุลาคม 2555.
นุชจรี สละริม , 2555, Game Based Learning ทางเลือกการเรียนรู้แบบ Plearn (play+learn)
[online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492165.
วันที่ 2 ตุลาคม 2555.
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์, 2555, เพลินเล่นเรียนแนวคิดใหม่แห่งการเรียนรู้ [online]. เข้าถึงได้จาก
: http://www.budmgt.com/budman/bm01/plearn.html.
วันที่ 15 ตุลาคม 2554.
ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน
- เพิ่มระดับความยากและความรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ และนำความรู้ในเรื่องอื่นๆหรือรายวิชาอื่นๆมาประยุกต์เข้าเป็นด่านต่างๆในตัวเกม
- พัฒนาเกมให้เป็นเกมที่มีหลากหลายแนวมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น