วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง การตัดต่อเพลง By ชุติกานต์

ตัวอย่างโครงงานเรื่อง   การตัดต่อเพลง

ความเป็นมาของโครงงาน
ปัจจุบัน “สื่อ” มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ทำให้นักเรียน นักศึกษาในแต่ละลสาขาวิชา โรงรียนจึงมีแนวคิดส่งเสริมให้นักศึกษารุ่นใหม่ ที่มีความชื่นชอบในการทำภาพยนตร์ และพัฒนาให้เป็นขุมพลังในอนาคตของวงการภาพยนต์ไทย โดยเปิดเวทีสำหรับการสร้างหนังสั้นขึ้นมาในหัวข้อ “สร้างสรรค์เพื่อสังคม” อีกทั้งทางโรงเรียนยังมีการจัดกิจกรรม “อบรมการทำหนังสั้น” โดยวิทยากรและทีมผู้เชี่ยวชาญในวงการภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างทักษะการสร้างภาพยนตร์ให้กับผู้เข้าร่วมประกวดอีกด้วยในอนาคต ซึ่งเนื้อหาของการอบรมนั้นจะครอบคลุมตั้งแต่วิธีการทำการ์ตูน การเขียนบท การตัดต่อ ไปจนถึงเทคนิคการทำหนังตัวอย่าง (Trailer)
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างสื่อเทคโนโลยีที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน
3. เพื่อสามารถนำประสบการณ์การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์
4. สร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

สมมุติฐานของการดำเนินการ (ถ้ามี)
สามารถนำเทคนิคการตัดต่อวิดีโอไปใช้ในการประกอบชีพเลี้ยงตนเองในอนาคตข้างหน้าได้และสามารถเรียนรู้การตัดต่อวิดีโอและมีความสามารถในการตัดต่อภาพยนตร์สั้นได้เป็นอย่างดี  เพื่อที่จะสร้างผลงานภาพยนตร์สั้นออกมาให้เป็นข้อคิดที่ดีแก่สังคมไทยได้
ขอบเขตของการดำเนินการ
การจัดทำโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง “การตัดต่อเพลง”   เป็นกระบวนการสร้างสรรค์สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ และปลูกฝังจิตสำนึกในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตเพื่อนำไปสู่ความพอเพียง  ความประหยัด  ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบหนังสั้นเชิงสร้างสรรค์สังคม
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง “การตัดต่อวิดีโอ” ผู้จัดทำโครงงาน ได้ศึกษาเอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไปนี้
1. การตัดต่อวิดีโอ
การตัดต่อ หมายถึง การเปลี่ยนภาพและเสียงจากหนึ่งช็อต (Shot) ไปยังช็อตต่อไปโดยให้มีความต่อเนื่องและเรียงล้าดับเรื่องราว ไม่มีการกระโดดหรืออิริยาบถซ้ำซ้อนกัน โดยรักษาคุณภาพของภาพและเสียงให้กลมกลืนกันโดยตลอด ความสำคัญของการตัดต่อวิดีโอ
1. ช่วยเชื่อมต่อภาพ ในการถ่ายวิดีโอนั้นไม่นิยมแช่กล้องจับภาพหรือฉากใดนิ่งนานๆ เพราะจะท้าให้ผู้ชมเบื่อหน่าย ดังนั้นจึงมีการถ่ายเป็นช็อตสั้นๆ จับภาพในมุมต่างๆ กัน ถ้าเป็นการถ่ายทำด้วยกล้องเดียวก็จะต้องน้าภาพทั้งหมดเหล่านั้นมาเรียงล้าดับเข้าด้วยกันให้ถูกต้องตามเรื่องราวหรือตามบทวีดิโอ
2. ช่วยแก้ไขส่วนบกพร่อง ในการถ่ายวิดีโอบางครั้งมีการระมัดระวังและพิจารณากันอย่างรอบคอบแล้วก็ตาม ยังมักจะพบข้อบกพร่องอยู่เสมอ การตัดต่อสามารถช่วยได้โดยการตัดภาพที่ไม่ต้องการออกไปหรือแทรกภาพที่ดีเข้าไปแทนที่ หรือต้องการแต่ภาพที่ไม่ต้องการเสียงที่มากับภาพนั้นก็สามารถเอาออกไปได้
3. ช่วยกำจัดเวลา ในการถ่ายวิดีโอรายการต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นรายการสำหรับออกอากาศนั้น เวลาเป็นเรื่องสำคัญมากจ้าเป็นที่จะต้องถ่ายให้ได้เวลาตามที่กำหนด แม้ว่าจะถ่ายภาพที่ดีๆ สวยๆ และมีประโยชน์กับเรื่องที่จะเสนอมากเพียงไร ก็จ้าเป็นจะต้องเลือกภาพนั้นมาตัดต่อให้ได้ความยาวพอเหมาะกับเวลาที่กำหนดเท่านั้น ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตัดต่อล้าดับภาพก็จะต้องใช้กระบวนการตัดต่อนี้ ปรับแต่งตัดภาพส่วนเกินออกไป หรือแทรกบางภาพเพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้เวลาที่พอดี
4. ช่วยสร้างเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง การล้าดับภาพเป็นการน้าภาพแต่ละฉากแต่ละตอนมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ถ้าเป็นการต่อเชื่อมภาพอย่างมีศิลปะด้วยความคิดสร้างสรรค์ ผู้ชมจะรู้สึกต่อเนื่องในเรื่องราวที่เชื่อมต่อกันอย่างเป็นล้าดับนั้น ให้รายละเอียดมากพอเท่าที่ผู้ชมอยากจะรู้ ให้ความรู้สึกและอารมณ์ตามที่ควรจะเป็น ทั้งนี้หมายถึงว่าในขั้นตอนการถ่ายท้านั้นต้องได้ภาพที่ดี มีรายละเอียดเพียงพอ มีทั้งภาพขนาดไกล ขนาดกลาง ภาพถ่ายใกล้และภาพหลายๆ มุมของแต่ละฉากแต่ละตอน เจ้าหน้าที่ตัดต่อจึงจะสามารถเลือกภาพมาตัดต่อได้ตามต้องการ
วัตถุประสงค์ของการตัดต่อวิดีโอ
ในการตัดต่อมีวัตถุประสงค์อยู่ 5 ประการ ดังนี้
1. เพื่อคัดเลือก การถ่ายวิดีโอแม้มืออาชีพก็ยังต้องถ่ายท้ากันหลายๆ รอบ ไม่ต้องพูดถึงวิดีโอที่เราถ่ายกันเองประเภทม้วนเดียวจบ จ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือกเอาเฉพาะช่วงที่ดีที่สุด ส่วนที่เหลือตัดทิ้งไป
2. เพื่อลำดับภาพ เมื่อคัดเลือกตอนต่างๆ มาแล้วก็ต้องน้ามาเรียงล้าดับให้เป็นไปตามเนื้อเรื่องหรือสคริปต์ที่วางไว้
3. เพื่อปรับความยาว หลังจากที่น้าตอนต่างๆ มาเรียงกันแล้ว ความยาวทั้งหมดอาจจะสั้นหรือยาวเกินไป จึงต้องมีการตัดออกหรือหามาเพิ่ม และปรับตำแหน่งเข้าออกและความยาวของแต่ละท่อนให้เหมาะสม
4. เพื่อปรับแต่งแก้ไข ตอนที่เราเลือกมาอาจมีข้อบกพร่องในเรื่องแสง สีและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้ามา การตัดต่อจะท้าให้เราได้แก้ไข ลบออกหรือปรับแต่งให้แต่ละท่อนมีความ กลมกลืนกัน
5. เพื่อปรุงแต่ง เป็นการเพิ่มสีสันเช่นการใส่เสียงดนตรี เสียง Effect การใส่ Transition การซ้อนตัวหนังสือ จะท้าให้วิดีโอมีความน่าดูยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม การใช้เทคนิคพร่ำเพรื่อก็อาจท้าให้ดูเลอะเทอะ และลดความน่าสนใจของเนื้อหาลงได้ เช่นกัน วิดีโอจะสมบูรณ์ไปไม่ได้ ถ้าขาดการจัดการเรื่องเสียงที่ดี การแทรกค้าบรรยาย การปรับความดังของช่วงต่างๆ การแพนซ้ายขวาของเสียง การเพิ่มเสียงดนตรีหรือเสียงเพลงประกอบ รวมทั้งการเพิ่มเสียงเทคนิคต่างๆ ลงไปในวิดีโอถือเป็นเสน่ห์ที่จะท้าให้เกิดความประทับใจได้อย่างยิ่งทีเดียว
ระบบการตัดต่อวิดีโอ
แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้คือ
1. ระบบลิเนียร์ (Linear)
2. ระบบนอนลิเนียร์ (Non-Linear)
3. ระบบไฮบริดจ์(Hybrid)
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอ
การตัดต่อวิดีโอจะต้องมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. กล้องวิดีโอ เป็นกล้องที่ใช้ในการถ่ายข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เพื่อท้าการตัดต่อโดยการตัดต่อจะเน้นการตัดต่อในระบบ Non-Linear หรือการตัดต่อด้วยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องมีการถ่ายข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ก่อน
2. การ์ดตัดต่อ การถ่ายข้อมูลจากกล้องวิดีโอเข้าสู่คอมพิวเตอร์ จะต้องมีการ์ดตัดต่อ(Capture card) ท้าหน้าที่เป็นตัวกลางในการผ่านสัญญาณวิดีโอเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และท้าหน้าที่ในการบีบอัดข้อมูลวิดีโอให้มีขนาดเล็กลง
3. ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมสำหรับการจับภาพวิดีโอ (Capture) ซึ่งคุณอาจจะใช้โปรแกรมที่ได้รับมาพร้อมกับการ์ดท้าการ Capture ก็ได้ หรือจะใช้โปรแกรมอื่นๆ ก็ได้ เช่น WinDVR, PowerVCR, Pinnacle Studio, WinDVR, AVI_io_tral เป็นต้น ซึ่งบางโปรแกรมก็มีให้คุณสามารถดาวน์โหลดมาทดลองหรือใช้งานฟรีก็มี
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรเป็นเครื่องที่มาความเร็วของซีพียูสูง ไม่ควรต่ำกว่า Pentium III500 MHz ควรเป็นเครื่องที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วสูง เช่น ความเร็ว 7200 rpm แบบ UDMA /66 หรือ UDMA/100 หากเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI จะยิ่งดี และควรมีขนาดที่มากเพียงพอสำหรับเก็บข้อมูลวิดีโอได้
หลักพื้นฐานสำคัญในการตัดต่อวิดีโอ
การตัดต่อเป็นการสร้างเรื่องราวขึ้นมาให้สมบูรณ์ โดยให้ภาพและเสียงมีความต่อเนื่องกันโดยตลอด การจะท้าเรื่องราวให้สมบูรณ์โดยการตัดต่อนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักพื้นฐานสำคัญดังต่อไปนี้
1. ความต่อเนื่อง (Continuity) การตัดต่อเทปวิดีโอต้องพยายามรักษาหรือสร้างความต่อเนื่องในสิ่งต่อไปนี้
1.1 รายละเอียดของสิ่งที่ต้องการจะกล่าวถึง ผู้ชมรายการมักจะต้องการจดจ้าภาพของบุคคลหรือสิ่งของจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่งได้ ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงการตัดต่อภาพจากภาพที่เปลี่ยนระยะทางหรือมุมกล้องที่ไกลมากมาเป็นภาพที่ใกล้มาก หรือภาพถ่ายจากมุมด้านหน้าของคนที่ไกลตัดมาเป็นภาพถ่ายจากข้างหลังบุคคลเดียวกันที่ใกล้มาก แต่ถ้าจ้าเป็นต้องตัดต่อภาพแบบนี้ จะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์ของภาพให้ต่อเนื่อง โดยค้าอธิบายว่าภาพนี้เป็นบุคคลเดียวกันกับที่เห็นในช็อตก่อนหน้านี้
1.2 สถานที่ในฉาก เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของภาพ จะต้องรักษาให้ตำแหน่งของบุคคลหรือสิ่งของที่ปรากฏในภาพอยู่ในฉากเดียวกัน เช่น ฉากการสนทนาของ 2 คน ซึ่งถ่ายข้ามไหล่ของแต่ละคนเพื่อจับภาพของคู่สนทนานั้น ผู้ชมก็ต้องการที่จะเห็นว่าอีกคนนั้นก็ยังอยู่ในจอเหมือนกัน แต่จะเปลี่ยนไปถ่ายในมุมตรงข้าม และที่สำคัญเวลาถ่ายท้าและต้องย้ายกล้องก็ต้องคำนึงถึงเส้นแบ่งการสนทนา (Vector Line บางทีเรียกว่า Line of Conversation หรือ Conversation Axis หรือ Principal Axis) คือ จะต้องตั้งกล้องถ่ายจากเส้นแบ่งด้านเดียวกัน มิฉะนั้นการตัดต่อภาพจะกระโดด หรือจะเป็นภาพการสนทนาที่หันหน้าไปทิศทางเดียวกัน
1.3 การเคลื่อนไหวของผู้แสดง การตัดต่อภาพให้อากัปกิริยาของผู้แสดงมีความต่อเนื่องอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด ให้ตัดภาพระหว่างการเคลื่อนไหวของผู้แสดง ไม่ใช่ก่อนและหลังการเคลื่อนไหวนั้น
1.4 สี สีสันของภาพมีความสำคัญในการล้าดับภาพให้ต่อเนื่อง ถ้าฉากต่อเนื่องที่เป็นฉากเดียวกันแต่ถ่ายท้าหลายครั้ง ต่างเวลากัน เมื่อน้ามาล้าดับเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันต้องระมัดระวังว่าอุณหภูมิสีของแสงแตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้สะดุดความรู้สึกของผู้ชม
1.5 เสียง เสียงจะต้องมีความสัมพันธ์กับภาพ การตัดต่อบางรายการต้องการใช้เสียงจริงที่ได้บันทึกไว้ระหว่างการถ่ายท้าในบาง ในการตัดต่อค้าพูดที่ไม่ต้องการออก ต้องระวังให้ค้าพูดนั้นลงจังหวะให้ดี ในช่วงค้าถามหรือค้าตอบ ส่วนบางตอนอาจต้องการให้ได้เสียงประกอบพิเศษเข้าไปเพื่แสดงเหตุการณ์ในสภาพแวดล้อมนั้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เสียงแบคกราวน์ เสียงยวดยาน เสียงผู้คนโห่ร้อง เป็นต้น
2. ความซับซ้อน (Complexity) การตัดต่อภาพให้ได้เรื่องราวที่น่าสนใจ ชวนติดตามมองเห็นรายละเอียดที่ซับซ้อนของเหตุการณ์นั้น จะสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจและซาบซึ้งในเรื่องราวนั้นมากขึ้น ซึ่งการตัดต่อเทปวิดีโอให้เรื่องราวต่อเนื่องธรรมดา ผู้ชมก็สามารถจะดูรายการนั้นได้อย่างรู้เรื่องราวตั้งแต่ตั้งต้นจนจบว่าเหตุการณ์ดำเนินไปอย่างไร แต่จะเป็นรายการที่ขาดรสชาติบางอย่าง ผู้ชมไม่ได้เห็นว่ากล่าวจะถึงเหตุการณ์แต่ละตอนนั้น มีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนอย่างไร การตัดต่อรายการแบบนี้ได้ จะต้องได้ภาพที่ถ่ายระยะใกล้แสดงรายละเอียดของส่วนประกอบในเหตุการณ์นั้นหลายๆ ภาพหลายๆ มุม ใช้จังหวะในการตัดต่อแทรกภาพเข้าไปอย่างเหมาะสมหรือใช้เสียงดนตรีที่เร่งเร้า หรือเสียงแบคกราวด์ที่สอดคล้องกับภาพ เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมไปกับภาพนั้น
3. ความเป็นจริง (Context) การตัดต่อทุกชนิดต้องเสนอเรื่องที่เป็นจริงแก่ผู้ชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของข่าว ในการถ่ายท้าเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม ภาพที่ถ่ายจากเหตุการณ์นั้นจะมีทั้งส่วนที่สื่อความหมายให้เห็นภาพรวมของเหตุการณ์ และก็อาจมีบางภาพที่อยู่ในเหตุการณ์จริงเช่นกัน แต่เป็นส่วนเล็กน้อยที่มิได้มีความหมายว่าเหตุการณ์โดยรวมจะเป็นเช่นนั้น การตัดต่อเทปวิดีโออาจท้าให้ความเป็นจริงบิดเบือนไปได้เช่น ตัดต่อข่าวการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองคนหนึ่ง มีภาพที่ช่างกล้องถ่ายมาเป็นภาพขนาดใกล้ของคนที่มาฟังการปราศรัยแล้วนั่งหลับน้ำลายยืด 2-3 หยด แต่ความจริงแล้วภาพอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นภาพฝูงชนที่แสดงความกระตือรือร้นในการฟัง ให้ความสนใจกับค้าปราศรัยนั้นมาก ถ้าเราตัดต่อเฉพาะคนที่นั่งหลับเข้าไป ก็เท่ากับว่าได้บิดเบือนความจริงไปจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระท้า สำหรับภาพจากแหล่งภาพสะสมนั้นส่วนใหญ่จะเป็นภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือเรื่องธรรมดาทั่วๆ ไป เช่น เมฆ ท้องฟ้า หาดทราย ฝนตก ฟ้าแลบ ยวดยาน ฝูงชน เป็นต้น ภาพเหล่านี้สามารถนำมาใช้ได้ดีกับการตัดต่อเรื่องราวที่สอดคล้องกัน แต่มิใช่น้าไปสอดแทรกเพื่อบิดเบือนความจริง
4. ความมีคุณธรรม (Ethics) เจ้าหน้าที่ตัดต่อเทปวิดีโอจะต้องเป็นผู้ยึดหลักคุณธรรมไม่ใช้การตัดต่อเป็นเครื่องมือสร้างเรื่องราวให้บิดเบือนไปจากเหตุการณ์ที่เป็นจริง นอกเสียจากจะเป็นรายการละครหรือนวนิยายที่แต่งขึ้นมาเท่านั้น ต้องไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวของตนเองเป็นเครื่องตัดสินใจที่สอดแทรกบางภาพที่มิได้มีความจริงปรากฏอยู่ ดังนั้นในการตัดต่อเทปวิดีโอท่านต้องคำนึงถึงความมีคุณธรรม ระมัดระวังไม่ให้มีการแต่งเติมหรือบิดเบือนอันอาจท้าให้ผู้หนึ่ง ผู้ใดเกิดความเสียหายจากการตัดต่อของตัวท่าน
เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ
เทคนิคการเลือกใช้ภาพในการตัดต่อเทปวิดีโอ สามารถน้ามากล่าวไว้ได้ดังนี้
1. มุมกล้อง มุมกล้องในระดับที่แตกต่างกันจะท้าให้ความหมาย และความรู้สึกที่แสดงออกมานั้นแตกต่างกันออกไป
- ภาพมุมปกติ (Normal Angle Shot) เป็นมุมกล้องที่ใช้กันมากที่สุด ภาพจะอยู่ในระดับสายตา โดยยึดเอาสิ่งที่ถ่ายเป็นหลักไมใช่ระดับสายตาของผู้ถ่าย
- ภาพมุมสูง (High Angle Shot) ระดับของกล้องจะอยู่สูงกว่าวัตถุที่ถ่าย โดยถ่ายลงมาให้เห็นภาพแสดงถึงความต้อยต่ำขาดพลังภาพมุมสูงเหนือศีรษะ และปลายเท้าเป็นภาพที่มีระยะใกล้เข้ามามากกว่า ELS
- Medium Close Up (MCU) ภาพจะเน้นสิ่งที่ถ่ายมากขึ้น
- Close up (CU) เป็นภาพที่ถ่ายใกล้มากๆ จนฉากหลังแทบจะไม่มีความหมาย8
- Extreme Close up (ECU) เป็นภาพที่ถ่ายใกล้มากๆ จนสิ่งที่ถ่ายเป็นจุดเด่นเต็มจอโทรทัศน์
2. การเคลื่อนกล้อง
- Pan คือ การเคลื่อนกล้องในแนว Horizontal คือ จากซ้ายไปขวาหรือจากขวาไปซ้ายในแนวนอน
- Till เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวดิ่ง (Vertical) คือขาของกล้องอยู่กับที่แต่หัวกล้องยกขึ้นในแนวดิ่ง (Till-Up) และกดลง (Till-down)
- Dolly คือ การเคลื่อนกล้องทั้งขากล้องและตัวกล้องเข้าไปใกล้หรือถอยหลังห่างจากผู้แสดง
- Zoom เป็นการเคลื่อนเข้า-ออกเฉพาะเลนส์
3. การประกอบภาพหรือการจัดองค์ประกอบภาพ การประกอบภาพนั้นไม่ใช่เพียงแต่จับภาพออกมา แต่หมายถึงวิธีการควบคุมความต่อเนื่องทางความคิด ต้องให้ผู้ชมได้รู้ได้เห็นในสิ่งที่ตนเองต้องการจะบอก ซึ่งต้องไม่ท้าให้ผู้ชมไขว้เขวสับสนหรือหันเหความสนใจไปยังจุดอื่นที่ผิดไปจากเป้าหมายที่วางไว้
เทคนิคในการเรียงลำดับภาพ
เทคนิคในการเรียงล้าดับภาพนี้ประกอบด้วยสิ่งที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. ความยาวของภาพหรือช็อต การเปลี่ยนภาพแต่ละครั้งจะท้าให้ผู้ชมถกกระตุ้นความรู้สึกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วความรู้สึกนั้นจะค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งมีการตัดภาพอีกครั้งหนึ่ง ถ้าความยาวของช็อตพอเหมาะกับอารมณ์ของผู้ชม ผู้ชมก็จะถูกกระตุ้นตามจังหวะ ถ้าช็อตยาวเกินไปอารมณ์ของผู้ชมจะราบเรียบไม่ตื่นเต้น แต่ถ้าช็อตสั้นเกินไปอารมณ์ของผู้ชมจะถูกกระตุ้นแต่เพียงบางเบาเพราะเกิดความเคยชิน
2. ความถี่ของการเปลี่ยนภาพ การเปลี่ยนภาพจากภาพที่หนึ่งไปสู่ภาพที่สอง หรือถ้าจะเรียกง่ายๆ ว่าการตัดภาพนั้น ตามธรรมดารายการที่มีความยาว 30 นาทีจะมีความถี่ในการตัดภาพ ประมาณ 20 ครั้งแต่ความถี่นี้อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามเนื้อเรื่องของเรื่องที่แสดง ถ้าเป็นเรื่องที่แสดงถึงการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว เช่น การวิ่ง การกระโดด อาจตัดภาพที่มีความถี่สูง ความจริงแล้วความยาวช็อต และความถี่ของการเปลี่ยนภาพนี้มีความสัมพันธ์กันอยู่แล้ว(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537 : 77)
2.2      การจัดองค์ประกอบการจัดองค์ประกอบศิลป์เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะและการออกแบบ การจัดองค์ประกอบศิลป์มีหลักที่ควรคำนึงอยู่ 5 ประการ คือ
        1.  สัดส่วน (proportion)
              หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดขององค์ประกอบที่แตกต่างกันทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรงและรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจพิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
•     สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาติ ของ คน สัตว์ พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด  หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า “ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม” ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว
•     สัดส่วนจากความรู้สึก    โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง  เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วยเน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่นนี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น กรีก  นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็นอุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง จึงแสดงถึงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญาณที่น่ากลัว ดังนั้นรูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป
2.  ความสมดุล (balance) หมายถึงน้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ฉะนั้นในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไปหรือเบาบางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียงและเกิดความรู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงามดุลยภาพในงานศิลปะมี2ลักษณะคือ
ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือการวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ
ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกันมักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์   ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน  แต่มีความสมดุลกัน   อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้  การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย    เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า   หรือ
เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน  จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาด
เล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา
          3. จังหวะลีลา (Rhythm)
หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการซ้ำกันขององค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ  เนื่องจากจังหวะของลายนั้น ซ้ำตัวเองอยู่ตลอดไปไม่มีวันจบ และมีแบบรูปของการซ้ำที่ตายตัว  แต่งานศิลปะแต่ละชิ้นจะต้องจบลงอย่างสมบูรณ์ และมีความหมายในตัว งานศิลปะทุกชิ้นมีกฎเกณฑ์และระเบียบที่ซ่อนลึกอยู่ภายในไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนงานชิ้นใดที่แสดงระเบียบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกินไป งานชิ้นนั้นก็จะจำกัดตัวเอง ไม่ต่าง อะไรกับลวดลายที่มองเห็นได้ง่าย ไม่มีความหมาย ให้ผลเพียงความเพลิดเพลินสบายตาแก่ผู้ชม
          4.  การเน้น (Emphasis) หมายถึง การทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดาในงานศิลปะจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่งที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆเป็นประธานอยู่ ดังนั้นส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้นให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ผลงานมีความงามสมบูรณ์ ลงตัวและน่าสนใจมากขึ้นการเน้นจุดสนใจสามารถทำได้ 3 วิธีคือการเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast) สิ่งที่แปลกแตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงาน จะเป็นจุดสนใจ ดังนั้น การใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะ แตกต่าง หรือขัดแย้งกับส่วนอื่น ก็จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะความแตกต่างที่นำมาใช้ด้วยว่า ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในส่วนรวมและทำให้เนื้อหาของงานเปลี่ยนไปหรือไม่โดยต้องคำนึงว่า แม้มีความขัดแย้ง แตกต่างกันในบางส่วนและในส่วนรวมยังมีความกลมกลืนเป็นเอกภาพเดียวกันการเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation) เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยกออกไปจากส่วนอื่นๆของภาพหรือกลุ่มของมันสิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจเพราะเมื่อแยกออกไปแล้วก็จะเกิดความสำคัญขึ้นมาซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างที่ไม่ใช่แตกต่างด้วยรูปลักษณะ แต่เป็นเรื่องของตำแหน่งที่จัดวางซึ่งในกรณีนี้ รูปลักษณะนั้นไม่จำเป็นต้องแตกต่างจากรูปอื่น แต่ตำแหน่งของมันได้ดึงสายตาออกไปจึงกลายเป็นจุดสนใจขึ้นมาการเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมาและการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้จุดนั้นเป็นจุดสำคัญขึ้นมาได้เช่นกัน พึงเข้าใจว่า การเน้น ไม่จำเป็นจะต้องชี้แนะให้เห็นเด่นชัดจนเกินไป สิ่งที่จะต้องระลึกถึงอยู่เสมอ คือ เมื่อจัดวางจุดสนใจแล้ว จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งอื่นมาดึงความสนใจออกไป จนทำให้เกิดความสับสน การเน้น สามารถกระทำได้ด้วยองค์ประกอบต่างๆของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น เส้น  สี แสง-เงา  รูปร่าง รูปทรง หรือ พื้นผิว ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความต้องการในการนำเสนอของศิลปินผู้สร้างสรรค์
5.  เอกภาพ (unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบส่วนต่างๆให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว เอกภาพของงานศิลปะมีอยู่  2ประการคือเอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมีความเรียบง่าย งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน
ขาดเอกภาพ  และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้  เกิดเอกภาพแก่ผลงานได้เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะเพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว  ความคิด และอารมณ์  ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ
วิธีดำเนินการ
1.วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
การจัดทำโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง “การตัดต่อเพลง” ผู้จัดทำโครงงานมีวิธีดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
–  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พร้อมสำหรับการจัดทำหนังสั้น ที่มีคุณสมบัติค่อนข้างสูง พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-  โทรศัพท์  หรือ กล้องวิดีโอ
-  โปรแกรมตัดต่อเสียงเช่น  Sound Forge, Jet  Audio ฯลฯ
-  โปรแกรมตัดต่อวิดีโอเช่น Movie Maker, Ulead Vedio Studio, Sony Vegas , Premier Pro เป็นต้น
-  เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
–  คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
–  ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
–  ศึกษาการพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบการตัดต่อภาพยนตร์สั้น จากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด และจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิค วิธีการต่าง ๆ
-  จัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา
- ปฏิบัติการจัดทำโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง “การตัดต่อเพลง” ในรูปแบบการตัดต่อภาพยนตร์สั้น
-   นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาทราบซึ่งครูที่
ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น อีกทั้งได้สร้างเครือข่ายสังคมโดยใช้เว็บไซต์ http://www.facebook.com และ http://www.youtube.com เพื่อให้เพื่อนๆ มาช่วยให้ข้อเสนอแนะ และสื่อสารกันหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาดังกล่าว
-  จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอเป็นรูปเล่ม
-  ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอผ่านเว็บเครือข่ายสังคมโดยใช้เว็บไซต์ Facebook.com และYoutube.com แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประเมิน โดยการสร้างกล่อง Like Box เพื่อให้คลิก Like และคอมเมนท์ในหน้าเว็บไซต์

ผลการดำเนินการ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการค้นคว้าในเรื่อง การฝึกการถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังนี้
1.  เสนอโครงการการถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ
2.  เก็บรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับการทำงาน
- ความเป็นมา
- วิธีทำ
- ประโยชน์
-ประเภท
3.  นำเนื้อหางานไปนำเสนอ
4.  วางแผนการทำงาน
- หาสถานที่
- เขียนบท
- ถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอ
- ตัดต่อวีดีโอ
5.  ถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ
- ประวัติการถ่ายภาพ
- การจัดองค์ประกอบ
6.  นำไปประเมิน
7.  ปรับปรุงแก้ไข
8.  นำผลมาวิเคราะห์การประเมิน
9.  นำไปประเมินประสิทธิภาพ
10.  นำเสนอผลงาน , เข้าเล่มโครงการ

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
1.สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง “การตัดต่อเพลง”นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้ทำการพัฒนาผลงาน โดยผลิตผลงานออกมารูปแบบของภาพยนตร์สั้น จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านสังคมเครือข่าย
ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา  โดยได้นำเผยแพร่ที่ www.wordpress.com ของผู้จัดทำที่ชื่อ ‘’การตัดต่อเพลง”
ทั้งนี้ ผลงานที่นำเสนอที่อยู่ในรูปแบบหนังสั้นนั้น  ได้มีผู้เข้าเยี่ยมชมผลงานเป็นที่ชื่นชอบ เพราะเป็นผลงานที่นำเสนอหนังสั้นเชิงคุณธรรม สอดแทรกสาระความรู้  ตลอดจนถึงแง่คิดในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อปลูกฝังการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความประหยัด ความมัธยัสต์  ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อเป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของคนในสังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์  ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
การนำเสนอผลงานดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดีโดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆ ในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดทำโครงงาน  การแสดง  ในเนื้อเรื่อง  การลำดับเรื่อง  การตัดต่อวิดีโอ  การจัดการเรียนรู้  หลังจากได้เผยแพร่ผลงานผ่านอินเตอร์เน็ต  ผู้เยี่ยมชมได้แสดงความเห็นในการแสดง  และรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย  ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนา  เกิดการเรียนรู้  และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
2. อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
อภิปรายผล
-  ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ในครั้งนี้  เนื้อหาข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำภาพยนตร์สั้น  รวบรวมจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
-  โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ  Sony vagus และโปรแกรมที่ใช้ทำเอ็ฟเฟ็กต์ มีความเหมาะสมในการจัดทำสื่อเพื่อการศึกษา ที่ต้องการออกแบบชิ้นงานทุกส่วนด้วยตัวเอง
ข้อเสนอแนะ
-  การทำภาพยนตร์สั้นนับว่าเป็นกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์และมีความสามารถในการถ่ายทำหนังสั้น มีโอกาสนำเสนอแนวความคิดหรือทัศนคติของตน ในประเด็นต่างๆ ออกสู่สังคม ซึ่งปัจจุบันหนังสั้นยังคงเป็นสื่อที่ ได้รับความนิยมทั้งจากผู้ชมและผู้ผลิตในยุคสังคมสมัยใหม่  เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ ให้บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือเป็นแนวคิดที่ดี ๆ นำไปเผยแพร่ต่อเพื่อเป็นแง่มุมความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
-  เพื่อให้นักเรียนและผู้จัดทำภาพยนตร์สั้น สามารถพัฒนารูปแบบของหนังสั้น และพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในกลุ่มให้มีความชำนาญขึ้นนั้น โดยอาจจะเปิดการอบรมเพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


เอกสารอ้างอิง
บุญเลิศ  เจริญกิจศิริวงศ์. ภาพยนตร์สั้นและการเขียนบท. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม
2556. จาก http://www.moralmedias.net/index.php?option=com_content&task  =view&id=33&Itemid=39
Vinz  Primo. คู่มือการใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ Sony Vegas. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 16 กรกฎาคม
2556. จากhttp://www.slideshare.net/johnypath1/sony-vegas-7
กฤตยา  ศรีริ. เรียนรู้เทคนิคการทำภาพยนตร์สั้น. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 16 กรกฎาคม 2556.
จากhttp://www.krupu.com/smedu/?page_id=1770
พูนศักดิ์  สักกทัตติยกุล . ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์.[ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 16 กรกฎาคม
2556.จาก http://www.thaigoodview.com/node/77052

ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงาน
โครงงานนี้เนื้อหาค่อนข้างเรียบเรียงได้ไม่ดี ควรเรียบเรียงใหม่ และเนื้อหาไม่ค่อยเกี่ยวกับโครงงานสักเท่าไหร่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น